วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2562

RS232

RS232
    RS232 ย่อมาจาก: Recommended Standard no. 232 คือมาตรฐานการสื่อสารข้อมูลดิจิตอลแบบอนุกรม (serial communication) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1960 โดย สมาคมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของอเมริกา ซึ่งในยุคแรก RS232 เป็นที่นิยมมากขนาดที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมี Serial port สำหรับการสื่อสารมาตรฐานนี้และเชื่อว่าคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หลายๆท่านก็ยังมี Port เชื่อมต่อนี้อยู่ แต่ในปัจจุบันได้มี USB ซึ่งเป็นมาตรฐานสื่อสารที่รับ/ส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเข้ามาแทนที่ ทำให้มาตรฐานการสื่อสารอย่าง RS232 ก็ค่อยๆมีอุปกรณ์ที่รองรับน้อยลงเรื่อยๆตามการเวลา

หลักการทำงานของ RS232


มาตรฐาน RS232 เป็นมาตรฐานที่รับ/ส่งข้อมูลแบบ Full duplex หรือจะให้พูดง่ายๆคือสามารถรับและส่งข้อมูลได้พร้อมกันทั้งคู่ในเวลาเดียวกัน โดยการรับ/ส่งข้อมูลนั้นจะใช้สายไฟทั้งหมด 3 เส้น ได้แก่
  • Tx (Transmit data) คือ สายส่งข้อมูล ซึ่งสายเส้นนี้จะมีหน้าที่ในการส่งข้อมูลเท่านั้น
  • Rx (Receive data) คือ สายรับข้อมูล ซึ่งสายเส้นนี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลเท่านั้น
  • GND (Signal ground) คือ สายกราวด์ เป็นสายเทียบหรืออ้างอิงแรงดันไฟฟ้า 0V
จากภาพเป็นตัวอย่างการเชื่อมต่อแบบ RS232 ของเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมกับคอมพิวเตอร์ เพื่อตั้งค่าเครื่องมือวัดผ่าน Software โดย
  • Tx (เครื่องวัด) จะถูกต่อเข้าที่ Rx (คอม) เพื่อส่งข้อมูลจากเครื่องวัดไปยังตัวรับของคอมพิวเตอร์
  • Rx (เครื่องวัด) จะถูกต่อเข้าที่ Tx (คอม) เพื่อรับข้อมูลที่ถูกส่งมาจากคอมพิวเตอร์
  • GND (เครื่องวัด) จะถูกต่อเข้าที่ GND (คอม) เพื่อเทียบสัญญาณแรงดัน 0V


ข้อดีของสัญญาณ RS232


จากที่กล่าวมาข้างต้นการสื่อสารแบบ RS232 ถูกคิดค้นมาตั้งแต่ปี 1960 ซึ่งถือว่านานมาก จากการถือกำเนิดมาอย่างยาวนานนั้นก็ทำให้ข้อดีเหลือน้อยลงไปทุกทีเพราะมีการสื่อสารรูปแบบใหม่ที่ถูกพัฒนาให้ดีกว่าเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน แต่ถึงกระนั้น RS232 ก็ยังพอมีข้อดีหลงเหลืออยู่ ซึ่งจะขออธิบายเป็นข้อๆดังนี้

ความคุ้นเคยของผู้ใช้

ปัจจุบันรูปแบบการสื่อสารได้ถูกพัฒนามาอย่างยาวไกลจนทิ้ง RS232 แบบไม่เห็นฝุ่นและการคงอยู่ของ RS232 จะเป็นไปได้ก็เพราะตัวผู้ใช้ยังคงใช้งานมันอยู่นั่นเองและสาเหตุหลักที่ยังมีการใช้อยู่ก็คงหนีไม่พ้นสิ่งที่เรียกว่า "ความคุ้นเคย" เนื่องจากการใช้งานสัญญาณดิจิตอลต้องมีการเขียนโปรแกรม (ยกเว้นซื้อสำเร็จรูป) และการเขียนโปรแกรมนั้นต้องมีความรู้เรื่องสัญญาณนั้นๆด้วยถึงจะเขียนโปรแกรมได้ ซึ่งหากผู้ใช้มีความรู้เกี่ยวกับ RS232 แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเลือกใช้สัญญาณนี้

มีอุปกรณ์รองรับการใช้งาน

RS232 เป็นระบบที่ถูกคิดค้นมาตั้งแต่ปี 1960 และเป็นที่นิยมในยุคแรกซึ่งมีข้อดีคือ มีอุปกรณ์ที่รองรับเยอะ การสื่อสารแบบ RS232 เป็นการสื่อสารที่มีอยู่ในเมนบอร์ดคอมพิวเตอร์แทบทุกรุ่น ซึ่งคนทั่วไปจะรู้จักกันในชื่อ Serial port ซึ่งทำให้การสื่อสารแบบ RS232 ไม่จำเป็นต้องใช้ Converter (ตัวแปลงสัญญาณ) ในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งต่างจากมาตรฐานใหม่อย่าง RS422, RS485 ที่ถึงแม้จะมีข้อดีที่มากกว่าแต่ก็ต้องใช้ Converter ในการแปลงสัญญาณอยู่ดี แต่ข้อดีข้อนี้อาจอยู่ได้อีกไม่นาน เพราะปัจจุบันเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆได้นำ Serial port ออกจากเมนบอร์ดและเพิ่ม Port การสื่อสารน้องใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมเข้าไปแทนนั้นคือการสื่อสารแบบ USB ซึ่งทำให้การสื่อสารรุ่นเก่าอย่าง RS232 ค่อยๆเลือนหายไปตามการเวลา

ข้อเสียของสัญญาณ RS232


ปัจจุบันได้มีการพัฒนาการสื่อสารข้อมูลรูปแบบใหม่ขึ้นมามากมาย RS232 ซึ่งเป็นการสื่อสารรุ่นเก่าก็ย่อมมีข้อเสียอยู่เช่นกัน ซึ่งจะขออธิบายเป็นข้อๆดังนี้

ปัญหาการส่งสัญญาณในระยะไกล

RS232 สามารถรับรับ/ส่งข้อมูลที่ความเร็วสูงสุด 19.2 kbit/s ได้ที่ระยะ 15 เมตร ซึ่งแตกต่างกันมากเมื่อเทียบกับการสื่อสารมาตรฐานใหม่อย่าง RS485 ซึ่งสามารถรับ/ส่งข้อมูลได้ไกลถึง 1,200 เมตร ที่ความเร็ว 100 kbit/s เนื่องจากการสื่อสารแบบ RS232 นั้นเป็นระบบที่ง่ายต่อการถูกสัญญาณรบกวน (Noize) เข้าแทรกแทรง ทำให้ระยะการสื่อสารของ RS232 ไม่สามารถส่งในระยะไกลได้ แต่หากมองดูเผินๆแล้ว 15 เมตร อาจจะถือว่าไกลมากสำหรับการใช้งานทั่วๆไป แต่ในโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว การส่งข้อมูลใน
เครื่องมือวัดอุตสาหกรรมหรือเครื่องมือทางวิศวกรรมมายังห้องควบคุมด้วยระยะ 15 เมตรนั้นถือว่าสั้นมากๆเมื่อเทียบกับขนาดของโรงงาน

รับ/ส่งข้อมูลได้เฉพาะแบบ 1 ต่อ 1

อีกหนึ่งปัญหาของ RS232 คือไม่สามารถส่งข้อมูลจากอุปกรณ์พร้อมกันหลายๆตัวมายังคอมพิวเตอร์ได้  โดยทำได้เพียงแค่ส่งข้อมูลมาที่คอมพิวเตอร์ทีละตัวแบบ 1 ต่อ 1 ซึ่งแตกต่างกันมากเมื่อเทียบกับการสื่อสารมาตรฐานใหม่อย่าง RS485 ซึ่งสามารถส่งข้อมูลจากอุปกรณ์พร้อมกันได้ถึง 32 ตัว

ความเร็วที่ล่าช้าในการรับ/ส่งข้อมูล

อีกจุดเปลี่ยนของการสื่อสารแบบ RS232 คือ ความล่าช้าในการรับ/ส่งข้อมูล นี่คือสาเหตุหลักที่ Microsoft เคยประกาศยกเลิกการสนับสนุน RS232 และถูกแทนที่ด้วยการสื่อสารแบบใหม่นั้นคือการสื่อสารแบบ USB ซึ่งเชื่อมต่อง่ายและรวดเร็วกว่า RS232 ถึงเกือบ 100 เท่าในยุคแรกๆ ซึ่งปัจจุบันอาจเร็วกว่านี้มาก แต่อย่างไรก็ตาม ระบบการรับ/ส่งข้อมูลในเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมหรือเครื่องมือทางวิศวกรรมก็ยังใช้การสื่อสารแบบ RS232 อยู่ เพราะผู้ใช้จำนวนมากยังคงคุ้นชินและยังมีอุปกรณ์จำนวนมากในโรงงานอุตสาหกรรมที่ยังรองรับมาตรฐานนี้อยู่ บวกกับงานบางประเภทเป็นการสื่อสารแบบ 1 ต่อ 1 ในระยะสั้นเช่น การตั้งค่าเครื่องมือวัดอุุตสาหกรรมโดยใช้ Note book ในการตั้งค่าตามจุดต่างๆที่เป็นปัญหา เป็นต้น

ความยาวสายเคเบิลสูงสุดของ RS232


ความยาวของสายเคเบิล RS232 เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดในโลก ซึ่งตัวมาตรฐานได้พูดไว้อย่างชัดเจนว่าความยาวสูงสุดของสายเคเบิล RS232 คือ 50 ฟุต (15 เมตร)หรือสายเคเบิลต้องมีค่า capacitance สูงสุดเท่ากับ 2,500 pF ซึ่งกฎข้อหลังนี้มักจะถูกลืม นั่นหมายความว่าการใช้สายเคเบิลที่มีค่า capacitance ต่ำๆ จะช่วยขยายระยะสายเคเบิลให้ไกลขึ้นได้ ยกตัวอย่าง หากใช้สายเคเบิลแบบ UTP CAT-5 ที่มีค่า capacitance อยู่ที่ 17 pF/ft  ก็จะทำให้สามารถใช้สายเคเบิลได้ที่ความยาวสูงสุด 147 ฟุต (44 เมตร) นั้นเอง
ความยาวสูงสุดของสายเคเบิล RS232 ที่ระบุในมาตรฐานเป็นความยาวที่จะช่วยให้สามารถรับ/ส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุด ถ้าความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลลดลง นั่นก็หมายความว่าความยาวสูงสุดของสายเคเบิลก็จะเพิ่มขึ้น ซึ่งทาง Texas Instruments ได้ทดลองในทางปฎิบัติเมื่อหลายปีก่อน โดยใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลที่แตกต่างกันเพื่อหาความยาวสูงสุดของสายเคเบิล โปรดจำไว้ว่ามาตรฐาน RS232 เดิมได้รับการพัฒนาขึ้นสำหรับความเร็ว 20,000 bit/s ซึ่งหากลดความเร็วลงครึ่งนึงจะทำให้ความยาวสายเคเบิลเพิ่มขึ้นได้อีกถึง 10 เท่า เลยทีเดียว
 

รหัสสัญญาณของ RS232


RS232 เป็นรูปแบบการส่งข้อมูลดิจิตอลรูปแบบหนึ่ง ซึ่งอย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าข้อมูลดิจิตอลจะประกอบด้วยตัวเลขเพียงสองตัว คือ 0 และ 1 เรียงต่อกันเป็นรหัสหรือชุดคำสั่งเพื่อสั่งงานอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่ง RS232 จะใช้ ระดับของแรงดันไฟฟ้า เป็นตัวบอกว่าข้อมูลไหนคือ 0 และ 1 ตามตาราง

การต่อวงจร INPUT และ OUTPUT ของ PLC FC6A PLUS

                                           การต่อวงจร INPUT และ OUTPUT ของ PLC FC6A PLUS

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ fc6a PLUS

 การต่อ Digital Input 

ในการต่อ Digital Input นั้น PLC FC6A PLUS สามารถเลือกได้ว่า จะต่อแบบ DC Sink Input หรือ DC Source Input ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าต้องการต่อใช้งานแบไหน
  
1. Sink Input 
    จากรูปจะเห็นได้ว่า ไฟลบ 24 VDC ได้ต่อเข้ากับขา COM ส่วนไฟบวก 24VDC ได้ต่อเข้ากับสวิตซ์และอีกฝั่งของสวิตซ์ได้ต่อเข้ากับอินพุท I2 

   

2. Source Input
    จากรูปจะเห็นได้ว่า ไฟบวก 24 VDC ได้ต่อเข้ากับขา COM ส่วนไฟลบ 24VDC ได้ต่อเข้ากับสวิตซ์และอีกฝั่งของสวิตซ์ได้ต่อเข้ากับอินพุท I2    





การต่อ Digital Output
ในการต่อ Digital Output นั้น PLC จะมี Output ให้เลือกใช้งานอยู่ 3 รูปแบบ คือ
     1. Relay Output
         จากรูปในกรณีที่ PLC เป็นเอาท์พุทแบบ Relay ให้สังเกตตรง COM0  และ COM1 จะใช้ได้ทั้งไฟกระแสตรงและกระแสสลับ 

     2. Transistor Sink
          จากรูปในกรณีที่ PLC เป็นเอาท์พุทแบบ Transistor Sink ตรงขา COM(-) ให้นำไฟลบ 24VDC มาต่อไว้ ส่วนไฟบวก 24VDC ให้ต่อเข้ากับโหลดและอีกฝั่งของโหลดให้ต่อเข้าเอาท์พุต PLC

     3. Transistor Source
          จากรูปในกรณีที่ PLC เป็นเอาท์พุทแบบ Transistor Source ตรงขา COM(+) ให้นำไฟบวก 24VDC มาต่อไว้ ส่วนไฟลบ 24VDC ให้ต่อเข้ากับโหลดและอีกฝั่งของโหลดให้ต่อเข้าเอาท์พุต PLC

ขั้นตอนการ Download Program ลง PLC IDEC FC6A PLUS ผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ต

บทที่3
ขั้นตอนการ Download Program ลง PLC IDEC FC6A PLUS ผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ต

3.1 ขั้นตอนการ Download Program
- IP และ Port (ทางบริษัทจะมีไว้ให้สำหรับลูกค้าที่ต้องการเขียนปรแกรมออนไลน์)
- User และ Password ใช้ในการ Download Program (ทางบริษัทจะมีไว้ให้สำหรับลูกค้า)
- เปิดไพล์โปรแกรมที่ได้ Upload Program มาจากนั้นให้ทดสอบทำการ Download Program โดยให้ไปที่ Online > Download
- จากนั้นจะขึ้นหน้าต่าง Download > กด OK
- จากนั้นให้ใส่ Ip address และ Port No > กด OK


- เมื่อทำการ Download Program ลงสำเร็จจะแสดงข้อความว่า Program Download Succeeded > กด OK


ขั้นตอนการ Upload Program จาก PLC IDEC FC6A PLUS ผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ต

บทที่2
ขั้นตอนการ Upload Program จาก PLC IDEC FC6A PLUS ผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ต

2.1 ขั้นตอนการ Upload Promgram
-  IP และ Port (ทางบริษัทจะมีไว้ให้สำหรับลูกค้าที่ต้องการเขียนปรแกรมออนไลน์)
-  User และ Password ใช้ในการ Upload Program (ทางบริษัทจะมีไว้ให้สำหรับลูกค้า)

- ให้เปิดโปรแกรม WindLDR V8 ขึ้นมา




- ให้ไปคลิกเลือก Online > Upload > Communication Setting
- จากนั้นให้เลือก Ethernet (คอมพิวเตอร์ต้องมีสัญญาณอินเทอร์เน็ต) > คลิกเลือก Browse…
- คลิกที่ New > ในช่อง IP address และ Port No ให้ใส่ IP address และ Port No ที่ได้มาใส่ลงไป > กด OK > กด OK

- จากนั้นจะแสดงหน้านี้ขึ้นมาให้กด OK > กด OK

- ระหว่างการ Upload โปรแกรมจะแสดงดังภาพข้างล่างนี้



- ถ้าแสดงดังภาพข้างล่างนี้แสดงว่าสามารถ Upload โปรแกรมเสร็จสมบูรณ์


ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม IDEC

บทที่1
ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม

1.1 ให้เข้าไปโหลดปรแกรมที่http://kmttechnology.com/index.php?route=product/category&path=65_132_67
1.2 ให้โหลดไพล์ AOV121 Full และ Automation Organizer Setup31201 โดยคลิกดาวน์โหลด

1.3 เมื่อดาวโหลดเสร็จให้ติดตั้งโปรแกรม AOV121
  • ทำการติดตั้งโปรแกรม AOV121 ก่อนโดยการคลิกขวาที่ AO_Start แล้วเลือกใช้งานในฐานะผู้ดูแล






  • จากนั้นให้คลิก Install
  • จากนั้งให้กด Next
  • จากนั้นให้กด Yes
  • จากนั้นกด Next





  • จากนั้นกด Next
  • จากนั้นกด Next
  • ระหว่างกำลังติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจเกิดปัญหาระหว่างติดตั้งโปรแกรม สามารถกด ตกลง ได้เลย
  • จากนั้นกด Finish ได้เลย


1.4 จากนั้นให้ติดตั้งโปรแกรม Automation Organizer Setup31201 ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไพล์
-      ให้คลิก Next
  • เลือก I Accept terms in the license agreement แล้วกด Next

  • คลิก Complete



  • จากนั้นโปรแกรมจำทำการติดตั้งโปรแกรม
  • ระหว่างขอทำการติดตั้งโปรแกรมจะมีให้ติดตั้ง Driver ให้กด ถัดไป
  • ถ้าติดตั้งเสร็จเรียนร้อยจะมีคำว่าเสร็จสิ้น

********ระหว่างติดตั้งโปรแกรมถ้ามีไดร์เวอร์ตัวใหนเด้งขึ้นมาให้ทำการติดตั้งให้ครบทุกตัว